ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ภาวะโลกร้อน ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ในทวีปแอนตาร์กติกาอย่างไรบ้าง?


เวลาพูดถึงทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งอยู่ล้อมรอบขั้วโลกใต้นั้นก็มักกล่าวกันว่า เป็นอาณาบริเวณที่หนาวจัดมาก แต่นั่นไม่เป็นความจริงเลย ในอาณาบริเวณนั้น มีสิ่งที่มีชิวิคอาศัยอยู่มากมาย แต่ทว่าจะเป็นครั้งแรกในระยะหลายๆ ล้านปีมานี้ที่สิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้นอาจเผชิญกับสัตว์ที่จับสัตว์อื่นเป็นอาหารพวกใหม่ที่โหดร้าย

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการที่อุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากภาวะที่โลกร้อนขึ้น จะทำให้ปูคิงแคร็บบุกเข้าไปในน่านน้ำของทวีปแอนตาร์กติกาและปลา ฉลามจะเป็นรายถัดไปที่อาจทำเช่นนั้น

ถ้าระบบนิเวศน์ของทวีปแอนตาร์กติกาอุ่นขึ้นกว่าเดิมย่อมหมายถึงว่าสิ่งมีชิวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าตกตะลึง แต่สิ่งที่ทำให้นักวิจัย สเวน ทอตยาแห่งมหาวิทยาลัยเซ๊าท์แธมพ์ตัน ประเทศอังกฤษและนักวิจัยอื่นๆรู้สึกเป็นทุกข์ใจก็คือว่ากาซที่ทำให้เกิดสภาพแบบในเรือนกระจกปลูกพืชกำลังทำให้น่านน้ำตามขั้วโลกอุ่นขึ้น อย่างไร? ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิตามพื้นผิวนอกเขตคาบสมุทรแอนตาร์กติกสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียสทำให้กลายเป็นเขตที่มหาสมุทรอุ่นขึ้นเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก คนเราอาจจะมองเห็นว่าการที่อุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศา เซลเซียสไม่ใช่ เรื่องใหญ่โต แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตหลายชนิดนั้น เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่อง ธรรมดา

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์ เชอเริ่ล วิลก้า กล่าวว่ามีเหตุผล ทางด้านสรีรวิทยาที่ทำให้สัตว์ที่จับสัตว์อื่นเป็นอาหารนั้นอาศัยอยู่ตามน่านน้ำที่เย็นจัดไม่ได้

การขบเปลือกหุ้มหรือกระดองของสิ่งที่มีชีวิตหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในน่าน น้ำของทวีปแอนตาร์กติกาให้แตกได้นั้นต้องใช้พลังงาน แต่ทว่าถ้าอากาศ ร้อนขึ้นแค่2-3 องศา เซลเซียส สัตว์ที่จับสัตว์อื่นเป็นอาหารไม่จำเป็นต้อง แข็งแรงถึงขนาดนั้น อนึ่ง ถ้าอุณหภูมิสูงใกล้ถึงจุดเยือกแข็ง

สิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปูที่สามารถขบกระดองแตกได้จะตายเนื่อง จากธาตุแมกนีเซียมเป็นพิษ นักวิจัย เชอเริ่ล วิลก้ากล่าวว่า ถ้าอากาศ อุ่นขึ้นอีกนิดหน่อย สิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้นก็จะอยู่ได้อย่างสบาย นักวิจัยผู้ นั้นกล่าวด้วยว่าขณะนี้ปูคิงแคร็บมาชุมนุมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำลึกนอกเขตชายฝั่งของทวีปแอนตาร์กติกาเพราะอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นกว่าเก่าราว 4 องศาเซลเซียส และว่าขณะที่อุณหภูมิของผิวน้ำในย่านนั้นสูงขึ้นต่อไป ปูคิงแคร็บจะย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณน่านน้ำที่ตื้นๆ รอบทวีปแอนตาร์ก ติกา นักวิจัยเชอเริ่ล วิลก้าคาดทายว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้า ปลาฉลาม ก็อาจทำแบบนั้น

ส่วนนักวิจัยริชาร์ด อารอนสันของห้องทดลองปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ Dauphin Island Sea Lab ที่รัฐอลาบามากล่าวว่าปลาฉลามและปู จะทำ ลายระบบนิเวศน์ที่บริเวณก้นบึ้งของโลก เขากล่าวด้วยว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ แบบนั้นจริง เขาก็จะถือว่าเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญในด้านความหลาก หลายทางชีววิทยา เขาเรียกร้องให้หยุดยั้งสภาพการณ์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ที่จับสัตว์อื่นเป็นอาหารเข้ามาอาละวาดได้ การธำรง รักษาชิวิตสัตว์และพืชในย่านแอนตาร์กติกให้คงไว้ในสภาพเดิมอาจมีประ โยชน์สำหรับมนุษย์ด้วย ในปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์อเมริกันกำลังพิจารณาสิ่งที่มีชีวิตชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน ย่านขั้วโลกเพราะอาจนำมาผลิตยารักษาโรคที่อาจต่อสู้กับโรคมะเร็งผิว หนังในมนุษย์ได้

XS
SM
MD
LG