ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซีย


เดือนนี้ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จะมีการประชุมว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยที่ประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกขององค์การสหประชาชาติ

หัวข้อสำคัญในการประชุมยังประกอบด้วยเรื่องการตัดไม้ทำลายป่าและเผาพื้นที่ที่เป็นหินดินดานตามชายหนองบึง เพื่อนำที่ดินนั้นไปปลูกต้นปาล์ม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งเเวดล้อมบอกว่า การเผาพื้นที่ดังกล่าวเป็นตัวการทำให้เกิด ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกจำนวนมาก และยังคุกคามพืชและสัตว์หลายชนิดด้วย

องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและสหประชาชาติ ระบุว่าปัจจุบันอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในอินโดนีเซียสูงขึ้นจนเกือบเท่า บราซิล ซึ่งมีอัตราการทำลายป่ามากที่สุดในโลก มีการประเมินว่าในแต่ละชั่วโมง พื้นที่ป่าของอินโดนีเซียกำลังหด หายไปเทียบได้ประมาณสนามฟุตบอล 300 สนาม อย่างเช่นที่เมือง Riau บนเกาะสุมาตรา ที่เป็นหนึ่งในหลายๆ พื้น ที่ที่มีการแผ้วถางพื้นที่ป่าเพื่อนำไปปลูกต้นปาล์ม

Hopsoro ชาวอินโดนีเซียสมาชิกองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม Greenpeace บอกว่าการเผาหรือถางพื้นที่ป่าเพื่อนำไปปลูก ต้นปาล์มนั้น ไม่เพียงแต่ทำลายป่าไม้เท่านั้น แต่ยังทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด รวมทั้งทำให้เกิดก๊าซที่ก่อให้ เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบัน อินโดนีเซียและมาเลเซียสองประเทศผลิตน้ำมันปาล์มได้รวมกันมากกว่า 80% ของปริมาณทั้งหมดในโลก ส่วนใหญ่นำ้มันปาล์มจะนำไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค และเวลานี้ความต้องการน้ำมันจากต้นปาล์มยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพื่อนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่เชื่อว่าเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ชนิดหนึ่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คุณ Bustar Maitar นักกิจกรรมของ Greenpeace บอกว่า การตัดไม่ทำลายป่านั้น ไม่เพียงแต่คุกคามสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นผล ร้ายต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นนั้นด้วย

นักกิจกรรมผู้นี้บอกว่า ชาวบ้านท้องถิ่นล้วนผูกพันกับป่ามายาวนาน ดังนั้น เมื่อต้นปาล์มเข้ามาแทนป่าไม้ วิถีชีวิต แบบพึ่งพาอาศัยป่าของชาวบ้านเหล่านั้นจึงสูญหายไป นอกจากนี้ เมื่อพื้นที่ป่าถูกทำลาย สัตว์ป่าที่มีมากมายหลาก หลายพันธ์ในอินโดนีเซียก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย หนึ่งในพันธ์สัตว์หายากที่ต้องรับเคราะห์จากเรื่องนี้คือ ลิงอุรัง อุตัง ที่เคยพบทั่วไปในเอเชีย แต่ปัจจุบันสามารถพบได้บนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวเท่านั้น

ศูนย์รักษาพันธ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Schmutzer ที่สวนสัตว์ Ragunan ในกรุงจาการ์ต้า คือสถานที่พักฟื้นของลิงอุรัง อุตังหลายสิบตัว ก่อนที่จะลิงเหล่านั้นจะถูกปล่อยกลับไปอาศัยอยู่ตามธรรมชาติต่อไป

คุณ Mimi Utami รักษาการ ผอ. ศูนย์ Schmutzer เล่าว่า ปีนี้ทางศูนย์อาจสามารถปล่อยลิงอุรังอุตัง 5 ตัวกลับสู่ป่า บนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวได้ และคาดว่าปีหน้าจะปล่อยอีก 10 ตัว

ในการประชุมที่บาหลีครั้งนี้ สาธารณชนจะได้รับทราบสถานการณ์ของลิงอุรังอุตังในปัจจุบัน เช่น เวลานี้เหลือลิง อุรังอุตังไม่ถึง 6 หมื่นตัวในป่าธรรมชาติ และจำนวนดังกล่าวยังลดลงในอัตรามากกว่า 5 พันตัวต่อปี แม้ว่าเมื่อปีที่ แล้วจะมีลูกลิงเกิดใหม่ที่ศูนย์ Schmutzer 3 ตัว แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างไม่แน่ใจว่า สายพันธ์ลิงอุรังอุตังจะดำรงคง อยู่ต่อไปได้อีกนานแค่ไหน หากการหักล้างถางป่าซึ่งเป็นที่อยู่ของลิงเหล่านั้น ยังคงไม่หยุดลง

XS
SM
MD
LG