ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปฏิกิริยาของสื่อมวลชน ที่มีต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินของ ปธน.เปเวซ มูชาราฟ


บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เดอะนิวส์ ปากีสถานฉบับวันจันทร์ เปรียบเทียบการประกาศภาวะ ฉุกเฉินของประธานาธิบดีเปเวซ มูชาราฟ ว่าเป็นการทำรัฐประหารต่อสองสถาบัน สถาบันที่ตกเป็น เหยื่ออันดับแรกคือศาลสูงสุดและสถาบันที่สองคือ สื่อมวลชน

หลังจากประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว มีการขับประธานศาสลูงสุดของ ประเทศออกจากตำแหน่งโดย ให้เหตุผลว่า ทำงานขัดขากับรัฐบาล ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความแตกแยกและเข้าไปแทรกแซงการ ทำงานของรัฐบาลในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย

ประธานาธิบดีมูชาราฟได้แต่งตั้งผู้พิพากษาที่จงรักภักดีต่อตนขึ้นทำงานแทน เพื่อให้ดำเนินงานของ ศาลสูงต่อไปโดยต้องไม่ก้าวล้ำอำนาจของประธานาธิบดี

ในขณะเดียวกัน สถาบันที่สองคือ สื่อมวลชนก็ถูกควบคุมอย่างหนัก โดยถุกสั่งห้ามวิจารณ์ผู้นำ ประเทศและรัฐบาล สถานีโทรทัศน์อิสระก็ถูกตัดสัญญาณ มีการตัดสายโทรศัพท์การกระจายเสียง และเผยแพร่ภาพข่าวต่าง ประเทศทางเคเบิลทีวีก็ถูกงดไปอย่างไม่มีกำหนด มีเฉพาะสถานี โทรทัศน์ของรัฐบาลช่องเดียว ที่กระจายเสียงได้

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะนิวส์ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า วันเสาร์ทมิฬ โดยบอกว่า การประกาศงดใช้ กฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับปีคริสศักราช 1973 และการเข้าแทรกแซงการทำงานที่เป็นเอกเทศของศาล สูง และการควบคุมอิสระภาพในการรับข่าวสารของประชาชน ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดใหญ่ หลวงของพลเอกมูชาราฟ

ในขณะเดียวกัน บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เดลลี่ ไทมส์ ปากีสถาน เรียกร้องให้ประธานาธิบดี เปเวซ มูชาราฟ รักษาสัญญา ที่จะลาออกจากตำแหน่งผู้นำกองทัพเพื่อนำประเทศแบบผู้นำพลเรือน ตลอดจนต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในต้นปีหน้า โดยอ้างคำสัญญาในคำแถลงการณ์ของประธานา ธิบดีมูชาราฟ ต่อประชาชนหลังประกาศภาวะฉุกเฉินคืนวันเสาร์


ในห้วงสองวันที่ผ่านมา รัฐบาลได้จับกุมทั้งผู้นำระดับสูงของพรรคฝ่ายค้านหลายพรรค ผู้พิพากษา ทนายความ และสมาชิกกลุ่ม เรียกร้องประชาธิปไตยและนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนไปขังไว้ ไม่ให้ออกมาก่อการประท้วงขนานใหญ่เพื่อต่อต้านรัฐบาล

เมื่อวานนี้กรุงอิสบามบัด ตกอยู่ในภาวะตึงเครียด แม้จะสงบเงียบ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหลายร้อย นายตั้งป้อมรักษาการด้านหน้าศาลสูงและรัฐสภาอย่างหนาแน่นพร้อมใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ต่อต้านรัฐบาลอย่างที่เกิดขึ้นช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่เมืองคาราจี เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจและทนายความ ที่กลับเข้าไปทำงานตอนเช้าวันจันทร์ และได้ก่อการประท้วง มีรายงานว่ามีคนบาดเจ็บเพราะถูกตำรวจทุบตีในการสลายการชุมนุมหลายคน ถูกควบคุมตัวไปในข้อหาก่อกวนความสงบ

แม้ปากีสถานจะถูกประนามจากรัฐบาลนานาชาติ รวมทั้งสหรัฐ จีน อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น รัฐบาลปากีสถานยังไม่มีการประกาศ อย่างเป็นทางการว่า ภาวะฉุกเฉินนี้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ และ รัฐบาลจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไปหรือไม่ โดยในเช้าวันอังคารนี้ ประธานาธิบดีมูชาราฟ จะประชุมร่วมพรรครัฐบาลเพื่อหารือกัน


XS
SM
MD
LG