ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พบเสก็ดเพชรเก่าแก่ อายุ 4,200 ล้านปี


เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์พบเสก็ดเพชรที่เชื่อว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก การพบเพชรเก่าแก่เช่นนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา

เสก็ดเพชรที่ว่านี้อายุ 4,200 ล้านปี และมีความหนาแน่นไม่เกินเส้นผม ฝังอยู่ในก้อนหินที่มีแร่ Zirconในภาค ตต. ของออสเตรเลีย ทีมนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ประกอบไปด้วยนักธรณีวิทยาจากเยอรมนีและออสเตรเลีย

เสก็ดเพชรที่พบก่อให้เกิดความตื่นเต้นก็เพราะ อาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์โลกก่อตัวขึ้นมาจากเมฆฦุ่นในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง 4,500 ล้านปีที่แล้วกับอีก 500 ล้านปีต่อมา ช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าเริ่มมีการก่อตัวของหิน และเป็นช่วงเวลาที่นักธรณีวิทยาเรียกกันว่า ยุคมืด

นักธรณีวิทยาเชื่อว่า ยุคมืด หรือ Haden period นั้น พื้นผิวโลกยังเต็มไปด้วยหินร้อนเหลวจากภูเขาไฟ แต่การพบเสก็ดเพชรที่มีอายุในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ทำให้เกิดความสงสัยว่าอาจจะมีเปลือกโลกเกิดขึ้นที่พื้นผิวโลกแล้วก็ได้ คุณ Thorsten Geisler นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เพชรเกิดขึ้นมาจากความ กดดันที่สูงมาก และเชื่อว่าเสก็ดที่พบนี้ จะเกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อมีความกดดันที่พื้นผิวโลก ซึ่งต้องเย็นลงแล้ว และมีความหนาทึบพอ

นักวิทยาศาสตร์ผุ้นี้บอกว่า การจะมีสภาพเช่นนั้นได้ จะต้องมีเปลือกโลกหนา ซึ่งไม่เคญมีใครคิดมา ก่อนว่า โลกจะมีเปลือกหนาเมื่อ 4,250 ล้านปีที่แล้ว

คุณ Martina Menneken หัวหน้าทีมงานชุดนี้ บอกว่าถ้าโลกเย็นลงเร็วกว่าที่เคยคาดกันไว้ ทำให้คิดไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่น่าจะเป็นไปได้อีกหลายเรื่องเช่น โลกอาจจะมีมหาสมุทรแล้วก็ได้ในตอนนั้น และอาจจะ มีน้ำแล้วก็ได้ ซึ่งหมายความว่าโลกอาจจะมีสิ่งมีชีวิตแล้วด้วยก็ได้ รายงานเรื่องเสก็ดเพชรนี้ตีพิมพ์ลงไว้ในวารสาร Nature

XS
SM
MD
LG