ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การเข้าร่วมกลุ่มฟื้นฟูสุขภาพจิต มีผลต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งทรวงอก อย่างไร?


การศึกษาฉบับหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งทรวงอก ที่เข้าร่วมกลุ่มการฟื้นฟูสุขภาพจิต ไม่ได้มีชีวิตยืนยาว กว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มแต่อย่างใด ซึ่งขัดแย้งกับการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อ 18 ปีก่อน อย่างมาก แต่นักวิจัยที่ทำการศึกษาครั้งใหม่นี้ก็บอกว่า การบำบัดรักษาร่วมกันเป็นกลุ่มยังคงช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทรวงอกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คุณแจน คูบา พบว่าเธอเป็นโรคมะเร็งทรวงอกเมื่อปีที่แล้ว เธอผ่านการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด การฉายรังสี ตลอดจนการผ่าตัด เธอบอกว่ากลุ่มให้กำลังใจผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเมืองชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์ ช่วยให้เธอรับมือกับอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ คุณแจนยังถอดหมวกให้ดู และบอกว่าผมของเธอกลับยาว ขึ้นมาอีกครั้ง

กลุ่มผู้ให้กำลังใจผู้ป่วยเหล่านี้เบ่งบานขึ้นมา หลังจากที่มีการเผยแพร่การศึกษาวิจัยของนายแพทย์เดวิด สปีเกิล ของคณะแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเมื่อปี พศ. 2532 การศึกษาวิจัยดังกล่าวพบว่าผู้หญิง ที่เป็นโรคมะเร็งทรวงอก ซึ่งเข้าร่วมกลุ่มการฟื้นฟูสภาพจิต อายุยืนกว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มนี้โดยเฉลี่ย 18 เดือน แต่การศึกษาวิจัยฉบับอื่นๆ กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกับการศึกษาวิจัยฉบับนี้

ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ นายแพทย์สปีเกิลจึงได้ทำการศึกษาในเรื่องเดิมนี้อีกครั้ง และได้ผลที่ต่างจากเดิม นั่นก็คือการบำบัดรักษาแบบเป็นกลุ่มมีผลต่อการยืดชีวิตผู้ป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

นายแพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแตนฟอร์ดผู้นี้บอกว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้ก็คือ การบำบัด รักษาร่วมกันเป็นกลุ่มช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วย มีชีวิตยืนยาวขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพบางคนไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวคิดของการศึกษาครั้ง ใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร “โรคมะเร็ง” ที่ว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตยืนยาวขึ้น หากมองโลกในแง่ดี

นายแพทย์จิมมี่ ฮอลแลนด์ แห่งศูนย์มะเร็ง เม็มโมเรียล สโลน เคตเตอร์ริ่ง ในนครนิวยอร์คกล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะเอาชนะโรคมะเร็งได้ ก็คือการตรวจพบในระยะเริ่มต้นด้วยการทำเม็มโมแกรมทุกๆ 1 หรือ 2 ปี

นายแพทย์เดวิด เดอร์ชอว์ ซึ่งมาจากศูนย์มะเร็ง เม็มโมเรียล สโลน เคตเตอร์ริ่งเช่นเดียวกันกล่าวว่า ผู้หญิงที่ ตรวจหาโรคมะเร็งด้วยการทำเม็มโมแกรมเป็นประจำทุกปี มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทรวงอก น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ตรวจถึง 60 เปอร์เซนต์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการบำบัดรักษาร่วมกันเป็นกลุ่ม จะไม่ได้ช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วย แต่การศึกษาฉบับ ใหม่ก็ระบุว่าการให้กำลังใจซึ่งกันและกันมีผลในแง่บวก ต่ออารมณ์และความเจ็บปวดของผู้ป่วย ซึ่งคุณแจน คูบาบอกว่า แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับเธอ

คุณแจนบอกว่า เธอไม่ได้เข้าร่วมการบำบัดรักษาเป็นกลุ่มเพื่อยืดชีวิตของตัวเอง และไม่มีทางที่จะทราบเลย ว่าชีวิตจะยืนยาวแค่ไหน ทราบเพียงแต่ว่าการทำเช่นนี้ช่วยให้ความหวังแก่ตัวเธอเองนายแพทย์เดวิด สปีเกิลกล่าวส่งท้ายว่า การที่บรรดาผู้ป่วยได้ระบายความทุกข์ และได้รับฟังปัญหาของ คนอื่นๆ จะช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น

XS
SM
MD
LG