ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การแข่งขันความเป็นมหาอำนาจทางด้านอวกาศ ระหว่างจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย


เมื่อเดือนมกราคม จีนส่งขีปนาวุธขึ้นวงโคจรรอบโลก เพื่อทำนายดาวเทียมตรวจสภาพอากาศเก่าแก่ดวงหนึ่ง ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง ญี่ปุ่นเสร็จการสร้างข่ายงานดาวเทียมจารกรรม 4 ดวงที่สามารถตรวจจับพื้นที่บนโลกได้ทุกจุด ในเดือนเมษายนอินเดียประสบความสำเร็จในการทดลองส่งขีปนาวุธที่สามารถยิงหัวรบปรมาณูไปได้ทั่วเอเชีย และตะวันออกกลาง

ทั้งสามประเทศนี้ นอกจากจะเป็นมหาอำนวจทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นผู้เข้าแข่งขันรายใหญ่ ในการแข่งขันการปฏิบัติงานในอวกาศที่กำลังเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชีย ประเทศทั้งสามกำลังวางแผนการสำหรับการเดินทางไปดวงจันทร์ ในการพยายามสร้างเกียรติภูมิแห่งชาติ และความเป็นเหนือในทางเทคโนโลยี

ลอเรนซ์ ประภากร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านปรมาณูและขีปนาวุธ ที่มหาวิทยาลัย มัททะราช คริสเตียน ในอินเดียกล่าวว่า สิ่งที่เราเห็นได้ก็คือ การแข่งขันทางยุทธศาสตร์สามเศร้าในอวกาศ ดังนั้นสิ่งที่อาจเห็นได้ภายใน 10-15 ปีต่อไปนี้ คือการแข่งขันในอวกาศของประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชียทั้งสาม จะมียุทธวิธีและเทคโนโลยีมากมายหลายอย่าง และการมีฐานส่งในวงโคจรรอบโลก ขณะนี้จีนกำลังเป็นผู้นำการแข่งขันด้านอวกาศของเอเชีย โครงการอวกาศของจีนนั้นเป็นเรื่องที่เด่นชัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 เมื่อจีนเป็นประเทศที่สามที่ส่งยานอวกาศที่มีมนุษย์ประจำขึ้นสู่อวกาศรองจากอดีตสหภาพโซเวียตและสหรัฐ ทางการจีนมีแผนการที่จะส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ในปีนี้ และจะให้นักบินออกมาเหินอวกาศในปีหน้า เป้าหมายก็คือการส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ ส่วนญี่ปุ่นก็กำลังจะส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์เป็นลำแรกในปีนี้ และมีแผนการที่จะส่งยานสำรวจอวกาศแบบหุ่นยนต์ไปปฏิบัติงานบนดวงจันทร์ภายใน 3 ปีและกำลังพิจารณาการส่งคนไปยังดวงจันทร์ด้วย

และนักวิจัยที่สถาบันการศึกษาและวิเคราะห์ด้านการป้องกันของอินเดียกล่าวว่า ทางการอินเดียมีแผนการที่จะส่งยานอวกาศที่ไม่มีคนประจำไปยังดวงจันทร์ในปีหน้า และจะส่งยานที่มีคนประจำไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2563 ในปีนี้อินเดียสามารถเก็บแคปซูลที่ส่งขึ้นสู่อวกาศได้ ซึ่งเป็นก้างการดำเนินงานสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในอวกาศในเวลาต่อไป

นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวันก็มีการดำเนินงานอย่างแข็งขันในด้านอวการศด้วย และประเทศเหล่านี้เคยส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกโดยใช้จรวดของประเทศอื่น ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปรมาณูและขีปนาวุธ ที่วิทยาลัยมัททะราช คริสเตียนกล่าวว่า สำหรับอินเดียนั้น การดำเนินงานด้านอวกาศมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในแง่พลเรือนและทางการทหาร เขากล่าวว่าหากอินเดียไม่มีพลเรือนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันในด้านอวกาศแล้ว เศรษฐกิจของอินเดียด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะไม่ยั่งยืน

ส่วนทางด้านจีน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าจีนต้องการแสดงให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เห็นว่าจีนก็มีเทคโนโลยีเช่นกัน และต้องการส่งสัญญาณไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียว่าตนมีความเป็นเหนือด้วย สำหรับญี่ปุ่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านที่กรุงโตเกียวกล่าวว่า โครงการอวกาศของญี่ปุ่นมาจากความเป็นชาตินิยม และความต้องการที่จะส่งเสริมเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า ตลอดจนแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากเกียรติภูมิแห่งชาติแล้ว ผลประโยชน์หลักของโครงการอวกาศ คือความก้าวหน้าในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมการส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ แต่ขณะเดียวกันก็มีการใช้งานทางด้านทหารด้วย ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่าอาจมีการแข่งขันด้านอาวุธในอวกาศขึ้นมาได้

XS
SM
MD
LG