ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กรณีพิพาทระหว่างอังกฤษ และอิหร่าน เกี่ยวกับพรมแดนที่ไม่ได้กันอย่างชัดเจน


กรณีพิพาทขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับอิหร่าน ในเรื่องของการจับกุมทหารของอังกฤษ ที่อิหร่านบอก ว่าล่วงล้ำน่านน้ำของตนนั้น อาจจะมีเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการที่น่านน้ำชัตอัล อาหรับ เป็นกรณีที่ ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอิรัก กับอิหร่านในน่านน้ำชัตอัล อาหรับที่ว่านี้ไม่ชัด เจน

เรือต่างๆ สามารถทราบว่าแล่นอยู่ตรงไหน โดยอาศัยระบบการชี้ที่ตั้งแห่งโลก ซึ่งสมัยก่อนไม่มีอุป กรณ์ที่ว่านี้ใช้ แต่คุณเครก เมอเรย์ อดีตหัวหน้าแผนกการเดินเรือสมุทร ของกระทรวงการต่างประ เทศและจักรภพอังกฤษ กล่าวชี้ว่า ระบบการเดินเรือที่ทันสมัยที่สุดก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ ในกรณี ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและอิหร่านในขณะนี้ เพราะไม่การแบ่งเขตพรมแดนกันไว้อย่างชัดเจน นั่นเอง

เรืออังกฤษทั้งสองลำอยู่อ่าวเปอร์เชีย นอกบริเวณปากทางแม่น้ำชัตอัล อาหรับ ซึ่งเป็นทางน้ำคด เคี้ยวไปมายาว 163 กิโลเมตรระหว่างอิหร่านและอิรัก การควบคุมน้ำสายนี้เคยเป็นสาเหตุประการ หนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามนองเลือดระหว่างอิรัก และอิหร่านตั้งแต่ปี พศ. 2523 - พศ. 2531

ศาสตราจารย์คายาน โคไคบัต ผู้สอนวิชากฏหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยเดอแรม ประเทศ อังกฤษ ผู้ให้คำปรึกษาแก่สหประชาชาติ และเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการขัดแย้งด้านการเดินเรือ ในย่านอ่าวเปอร์เชีย อย่างกว้างขวางนั้น ตั้งข้อสังเกตว่าอิหร่าน และอิรักยังตกลงอะไรกันไม่ได้เกี่ยว กับเขตเดินเรืออย่างเป็นทางการ ในบริเวณที่น้ำของทางน้ำชัตอัล อาหรับไหลลงสู่อ่าวเปอร์เชีย ทหาร อังกฤษปฏิบัติงานจากฐานปฏิบัติการที่เมืองบัสราอันเป็นเมืองท่าของอิรัก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอ่าว เปอร์เชีย

ตามอำนาจมอบหมายของสหประชาชาติ เรือของราชนาวีอังกฤษแล่นลาดตระเวณตามแนว ชายฝั่ง ของอิรัก คุณเครก เมอเรย์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตประจำอุสเบกิสถานด้วย กล่าวว่าช่องทางเดินเรือที่ แคบนี้ จะยักย้ายไปมาตามกระเเสน้ำ และฤดูกาล ซึ่งยิ่งทำให้การกำหนดเขตแดน แม้แต่อย่างหยาบๆ ก็ทำได้ยาก

อาจารย์คายาน โคไคบัตกล่าวว่า ถึงมาตรว่าเรืออังกฤษจะพลัดเข้าไปในบริเวณที่อิหร่านอ้างว่าเป็น น่าน น้ำของตน แต่ตามกฏหมายระหว่างประเทศ อิหร่านไม่มีสิทธิ์จับทหารเรือและนาวิโยธินอังกฤษ

เหล่านั้นไป ส่วนปลัดกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันกล่าวว่า อ่าวเปอร์เชียไม่ใช่ทะเลสาปของ อิหร่าน แต่เป็นทางน้ำระหว่างประเทศ และเราจะปฏิบัติเหมือนอย่างที่ทำมาตั้งแต่ปลายช่วงคริสต์ ทศววษที่ 1940 เพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทและชาติต่างๆ ที่จะใช้อ่าวเปอร์เชียสำหรับการพาณิชย์ ระหว่างประเทศ

ส่วนนายกรัฐมนตรีโทนี่ แบลของอังกฤษกล่าวว่า อังกฤษจะไม่มีการเจรจาต่อรองเพื่อให้มีการปล่อย ทหารเรือ และนาวิกโยธินอังกฤษ 15 คนที่โดนอิหร่านควบคุมตัวไว้ และเรียกร้องอีกครั้งหนึ่งให้ปล่อย ทหารเหล่านั้นโดยทันที และโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ

XS
SM
MD
LG