ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มลพิษในอากาศ เกี่ยวโยงกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อย่างไร?


การศึกษาครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศ อาจทำให้เพิ่มความ เสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มากกว่าที่บรรดานักวิทยาศาสตร์คาดคิดเอาไว้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงอเมริกันมากกว่า 65,000 คน คุณคริสติน มิลเลอร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน วิทยาเขตซีแอตเทิล ผู้นำคณะนักวิจัยกล่าวว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจนั้น ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับเมืองที่ผู้หญิงเหล่านี้อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวโยงถึงว่าอยู่ตรงเขตไหนของเมืองด้วย

การศึกษาพบว่า ผลกระทบของมลพิษมักเกิดขึ้นภายในเมืองต่างๆ มากกว่าระหว่างเมืองแต่กระนั้นอัตราเฉลี่ยของมลพิษระหว่างเมืองก็เป็นมาตรวัดหลักของผลกระทบจากมลพิษในระยะยาว

การค้นพบใหม่นี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางคนต้องบอกว่า การควบคุมมลพิษในปัจจุบันยังไม่ดีเพียงพอ การศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ระบุว่านักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจ สอบอัตราการเกิดภาวะหัวใจวาย อาการไขมันอุดตันในเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง และลักษณะของโรคหัวใจอื่นๆ ในหมู่ผู้หญิงที่โดนมลพิษมาเป็นเวลานาน

นักวิจัยศึกษากลุ่มผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งไม่มีสัญญาณของการเป็นโรคหัวใจตั้ง แต่ระยะเริ่มต้นของการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ได้ติดตามดูผู้หญิงเหล่านั้นเป็นระยะเวลานาน 9 ปี เพื่อดู ว่ามีผู้ที่เกิดอาการของโรคหัวใจในเวลาต่อมาอยู่กี่คน

บรรดานักวิจัยใช้ข้อมูลจากโครงการของรัฐบาลที่ชื่อว่า “Women’s Health Initiative” โครงการนี้เริ่มเก็บข้อมูลจากผู้หญิงในสหรัฐนับหมื่นๆ คนในปี พศ. 2534 นอกจากนี้นักวิจัยยังได้ตรวจสอบระดับ อนุภาคเม็ดละเอียดในอากาศในบริเวณต่างๆ 36 แห่งทั่วประเทศ อนุภาคที่มีขนาด เล็กมากๆ มาจากควันจากโรงงานอุตสาหกรรม และควันไอเสียจากการจราจร ประกอบกับสิ่งต่างๆ เช่นการเผาไม้เพื่อใช้ในเตาผิงในบ้านเรือน

นอกจากนี้แล้ว ในการศึกษายังพบว่า มลพิษที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 ไมโครกรัม เพิ่มความเสี่ยงในการเป็น โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด 24 เปอร์เซนต์ และยังเกี่ยวโยงถึงการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสีย ชีวิตด้วยโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดถึง 76 เปอร์เซนต์อีกด้วย

ส่วนอนุภาคในอากาศจะทำลายระบบการทำงานของหัวใจร่วมหลอดเลือดได้อย่างไรนั้น คุณดักลาส ด็อคเคอรี่ และคุณปีเตอร์ สโตน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในรัฐแมสซาชูเส็ทกล่าวว่า อนุภาคต่างๆ อาจเป็นสาเหตุให้ปอดมีอาการโป่งพอง และปล่อยสารเคมีจากมลพิษเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นสาร เคมีก็อาจไปทำลายหัวใจได้

XS
SM
MD
LG