ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุข หรือความทุกข์ในชีวิตของคนเรา


ผลการวิจัยของนักวิจัยริชาร์ด ลูกาสแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตทบ่งชี้ว่า เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้นมีลู่ทางว่าจะทำให้คนเราเปลี่ยนไป และทำให้คนเรามีความสุขมากกว่าเดิม หรือทุกข์โศรกมากกว่าเดิมเป็นการถาวรได้

นักวิจัยริชาร์ด ลูกาส และทีมงานของเขาวิเคราะห์ผลการสำรวจซึ่งครอบคลุมขอบเขตกว้างขวาง ที่นักเศรษฐศาสตร์ที่เยอรมนี และอังกฆษเป็นผู้เริ่มทำไว้ในช่วงหลังจากปี 2523 ในช่วงเวลาหลายปีผู้ทำการสำรวจถามความเห็นของคนนับหมื่นๆ คนเกี่ยวกับระดับความพอใจในชีวิตของพวกเขา

ผู้ทำการสำรวจยังรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขาด้วย

นักวิจัยริชาร์ด ลูกาสยกตัวอย่างให้ฟังว่า เราสามารถพิจารณาดูคนที่แต่งงาน แล้วต่อมาอีกระยะหนึ่งก็หย่าร้าง และคงความเป็นหม้ายอยู่อย่างนั้น เขากล่าวด้วยว่าเราสามารถเปรียบเทียบความสุขที่พวกเขามีในช่วงก่อน และหลังการหย่าร้างเพื่อดูว่าเหตุการณ์ในชีวิตนั้นเกี่ยวพันกับความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนถาวรใดๆ หรือไม่ และเรื่องที่ว่านี้จะบอกเราว่าเหตุการณ์ในชีวิตนั้นเกี่ยวพันกับความเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรใดๆ ในด้านความสุขหรือไม่

นักวิจัยริชาร์ด ลูกาส พิจารณาดูเหตุการณ์ต่างๆ อย่างเช่นการแต่งงาน การหย่าร้าง การสูญเสียคู่สมรสหรือการกลายเป็นคนทุพพลภาพ และพบว่าเหตุการณ์ที่ดีๆ เหตุการณ์หนึ่งคือ การสมรสนั้นภายใน 2 ปีจะมีการปรับตัว กล่าวคือปรับตัวกลับไปสู่ระดับความสุขที่ตนเคยมีมาแต่เดิม

หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหยึ่ง การดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ชักจะคลายความหอมหวานลงในบั้นปลาย แต่นักวิจัยริชาร์ด ลูกาสกล่าวว่า เหตุการณ์ในทางลบมักจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นการถาวร และคนเราจะมีความทุกข์ใจและพอใจชีวิตของตนน้อยลง และว่าผู้ที่หย่าร้างดูเหมือนจะมีความสุขในช่วงหลังการหย่าร้าง อีกทั้งผู้ที่กลายเป็นคนทุพพลภาพจะมีความสุขน้อยลงกว่าช่วงที่ยังแข็งแรงดีอยู่

คุณริชาร์ด ลูกาสกล่าวด้วยว่าผู้ที่เป็นหม้ายนั้นจะกลับมามีความสุขที่เกือบจะใกล้เคียงกับของช่วงที่ยังไม่สูญเสียคู่สมรสไป แต่ต้องใช้เวลายาวนานหรือราวๆ 7 ปี และว่าข้อมูลสถิติเหล่านั้นมิได้นับรวมถึงความแตกต่างระหว่างปัจเจกชนในเรื่องวิธีการแสดงปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ในชีวิตอย่างไร เขาคิดว่าเรื่องหนึ่งที่ควรทำวิจัยต่อไปอีกก็คือ การระบุเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทำให้คนเรามีความสุขยิ่งขึ้นเป็นการถาวร

รายงานการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ลงพิมพ์อยู่ในวารสาร Current Directions in Psychology ฉบับเดือนเมษายน

XS
SM
MD
LG