ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพ และพัฒนาการ สำหรับสตรีในโลกมุสลิม


ขณะที่หลายคนถือ โอกาสนี้ฉลองความก้าวหน้า แต่สำหรับบางคนเป็นการเตือนว่า ยังมีงานที่จะต้องทำกันอีกมาก เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น

ผู้สื่อข่าว VOA, Margaret Besheer รายงานว่า สำหรับสตรีในโลกมุสลิมนั้น ความเปลี่ยนแปลง ในทางบวกมีขึ้นค่อนข้างช้า แต่ก็สม่ำเสมอ

หลักการแห่งความเสมอภาคระหว่างชายกับหญิงนั้น หยั่งรากลึกในศาสนาอิสลาม เป็นที่ทราบกัน ดีว่า พระศาสดามูฮัมหมัดทรงปฏิบัติต่อชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน พระศาสดามูฮัมหมัดเอง ทรงมีธิดาล้วน และทรงสนับสนุนสิธิสตรี เห็นได้จาก เมื่อมีการแต่งงาน ก็ทรงขอให้มอบสินสอดแก่ เจ้าสาวโดยตรง ไม่ใช่ให้แก่บิดาหรือผู้ดูแล และทรงเสนอให้มีการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า แต่นักวิชาการด้านตะวันออกกลางกล่าวว่า การตีความในเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงไป

Margaret Al Moumin นักวิชาการที่สถาบันตะวันออกกลาง Middle Erast Institute ที่กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ในเวลาต่อมาเมื่อพระมูฮัมหมัดสิ้นพระชนม์ มีการตีความคำสอนของพระองศ์ต่าง ๆกันไป และย้อนกลับไปเป็นการควบคุมสังคม ซึ่งก็หมายถึงว่า หากต้องการควบคุมสังคม ต้องการควบคุม ครอบครัว ก็ต้องควบคุมผู้หญิง

ทุกวันนี้ สตรีมุสลิมกำลังพยายามทำงานเพื่อที่จะเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่าง ๆ นักวิชาการด้านตะวัน ออกกลางผู้นี้ กล่าวว่า การให้อำนาจทางเศรษกิจและทางสังคมแก่ผู้หญิง เป็นกุญแจสำคัญสู่ความ เจริญก้าวหน้าของผู้หญิงในโลกอิสลาม และว่า หากผู้หญิงไม่ทีรายได้ หรือไม่สามารถหาอาหารมา เลี้ยงดูลูก ๆ ได้ ก็ไม่อาจจะคาดหวังให้ผู้หญิงเหล่านั้นลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อตนเองได้ ผู้หญิงมุสลิมจำนวน มากที่เป็นหม้ายหรือหย่าร้าง ต้องดูแลเลี้ยงครอบครัว หากไม่มีโครงการทางเศรษกิจสนับสนุน ก็เป็น เรื่องยากที่ผู้หญิงเหล่านั้นจะอยู่รอดได้

การศึกษาก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่สตรีมุสลิมยังล้าหลัง สถิติตัวเลขขององค์การสหประชาชาติแสดงว่า ในปี 2548 ในภาคพื้นตะวันออกกลางและทางภาคเหนือของอัฟริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวมุสลิมอาศัย อยู่เป็นส่วนใหญ่นั้น ผู้หญิงมุสลิมมากกว่า 75 ล้านคน อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รวมทั้งในอัฟกานิสถาน ด้วย

Wadeer Safi อาจารย์ทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยกาบูลกล่าวว่า ปัญหาใหญ่สำหรับนักศึก ษาในอัฟกานิสถาน คือ ความไม่รู้หนังสือ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในประเทศนี้

ส่วนนักวิชาการที่ Middle East Institute ที่กรุงวอชิงคันกล่าวว่า เด็กผู้หญิงที่ไมีได้รับการศึกษา จะเติบโตขึ้นมาเป็นแม่ที่ไม่มีความพร้อมและขาดความสามารถในการเลี้ยงดูลูก ซึ่งจะทำให้ผู้หญิง เหล่านั้น ไม่พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาปัจจุบัน อย่างเช่น ยาเสพติด อาชญากรรม และความรุนแรง แข็งกร้าวสุดกู่ทางศาสนา

Mishkat Al Moumin แห่งสถาบันตะวันออกกลาง กล่าวว่า เมื่อทำให้ผู้หญิงต้องลำบาก ก็เท่ากับทำให้ ทั้งครอบครัวลำบาก ด้วยเหตุนี้ สิทธิสตรีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวด้วย

ในโลกอิสลามนั้น ผู้หญิงกำลังมีความก้าวหน้าในจังหวะก้าวที่ต่างกัน อย่างในซาอุดิอาเรเบีย แหล่งกำ เนิดของศาสนาอิสลามเอง ความเปลี่ยนแปลงสู่สมัยใหม่ เป็นไปค่อนข้างช้า ขณะที่ผู้หญิงยังไม่มีสิทธิ ออกเสียง หรือแม้แต่ขับรถ

Munira Nahid นักสังคมวิทยา ที่มหาวิทยาลัย Fahd ในกรุงริยาด กล่าวว่า ด้วยเหตุที่มีข้อจำกัดหลาย อย่าง และเนื่องจากความไม่เสมอภาคในช่องทางโอกาส สตรีซาอุดิอาเรเบียจึงกำลังกลายเป็นนักสู้ ตัวยง และผู้ประสพความสำเร็จยิ่งใหญ่

ความมุ่งมั่นแน่วแน่แบบนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสตรีในซาอุดิอาเรเบียเท่านั้น ในที่อื่น ๆในโลกมุสลิม ผู้หญิงกำลังเริ่มพัฒนาก้าวหน้าในการมีสิทธิมีเสียงในทางการเมือง อย่างในอิรัค ผู้หญิงกำลังมีบท บาทแข็งขันในรัฐบาล ขณะที่เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ผู้หญิงในคูเวตก็ออกกมาลงคะแนนเสียงและ สมัคร รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและในการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นกันเป็นครั้งแรก ในบาห์เรน เจ้าผู้ครองนครทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาหญิงคนแรกในปีที่แล้ว ในจอร์แดน เลบานอน อิหร่าน และในประเทศมุสลิมอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ก็มีผู้พิพากษาหญิง นอกจากนั้น สตรีมุสลิมบางคนเคย ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล อย่าง นางเบนาซี บุตโต แห่งปากีสถาน และนางเมฆวาตี สุการ์โนบุตรี แห่งอินโดนีเซีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงมุสลิมยังมีภาระที่จะต้องทำกันอีกมาก เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทั้งหลาย ที่ตั้งไว้

XS
SM
MD
LG